การทางพิเศษแห่งประเทศไทย จับมือธนาคารเกียรตินาคินภัทร เสริมทัพบริการบนแอปพลิเคชัน KKP MOBILE เปิดให้บริการเติมเงินบัตร Easy Pass

การทางพิเศษแห่งประเทศไทย จับมือธนาคารเกียรตินาคินภัทร เสริมทัพบริการบนแอปพลิเคชัน KKP MOBILE เปิดให้บริการเติมเงินบัตร Easy Pass เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2566 การทางพิเศษแห่งประเทศไทย จับมือกับ ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) เปิดให้บริการเติมเงินบัตร Easy Pass...

กทพ. จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 โครงการทางพิเศษยกระดับชั้นที่ 2 (งามวงศ์วาน-พระราม 9) ภายใต้งานศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการแก้ไขปัญหาการจราจรบนโครงข่ายทางพิเศษ ระยะที่ 1 การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 โครงการทางพิเศษยกระดับชั้นที่ 2 (งามวงศ์วาน-พระราม 9) ภายใต้งานศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการแก้ไขปัญหาการจราจรบนโครงข่ายทางพิเศษ ระยะที่ 1 ในวันจันทร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 เวลา 08.30-12.00 น. ณ ห้องแกรนด์ บอลรูม ชั้น 3 โรงแรม แกรนด์ ฟอร์จูน กรุงเทพฯ โดยมีนายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เป็นประธานการประชุม มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการคัดเลือกแนวสายทางเลือกและรูปแบบแนวสายทางเลือกที่เหมาะสม พร้อมรับฟังความคิดเห็นต่อแนวสายทางเลือกและรูปแบบแนวสายทางที่เหมาะสมของโครงการ เพื่อนำไปพิจารณาประกอบการศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข กล่าวว่า ปัจจุบัน กทพ. อยู่ระหว่างศึกษาแนวทางการดำเนินการที่เหมาะสมและเป็นไปได้ของโครงการก่อสร้างทางด่วนชั้นที่ 2 เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรบนทางพิเศษศรีรัช ช่วงงามวงศ์วาน-พญาไท-พระราม 9 ซึ่งประสบปัญหาการจราจรอย่างหนักเข้าขั้นวิกฤตทั้งในและนอกช่วงเวลาเร่งด่วน เนื่องจากต้องรับภาระด้านการจราจรทั้งหมดจากความต้องการเดินทางในแนวตะวันออก-ตะวันตก และแนวเหนือ-ใต้บนโครงข่ายทางพิเศษในพื้นที่กรุงเทพมหานครชั้นในและชั้นกลาง โดยพื้นที่ศึกษาของโครงการครอบคลุมพื้นที่บางส่วนใน 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนนทบุรี จำนวน 1 อำเภอ คือ อำเภอเมืองนนทบุรี และกรุงเทพมหานคร จำนวน 7 เขต ได้แก่ เขตบางซื่อ เขตจตุจักร เขตพญาไท เขตดุสิต เขตราชเทวี เขตดินแดง และเขตห้วยขวาง ตลอดระยะเวลาการศึกษาโครงการ ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลข่าวสารของโครงการอย่างถูกต้อง ครบถ้วน และได้มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลข้อคิดเห็นข้อเสนอแนะ ซึ่งโครงการจะได้นำไปพิจารณาประกอบการศึกษาและพัฒนาโครงการให้มีความเหมาะสมและครบถ้วนสมบูรณ์ต่อไป ทั้งนี้ ผลการคัดเลือกแนวสายทางที่เหมาะสมของโครงการ มีรูปแบบโครงการเป็นทางพิเศษยกระดับชั้นที่ 2 ซ้อนทับอยู่บนทางพิเศษศรีรัช มีจุดเริ่มต้นโครงการบริเวณทางแยกต่างระดับงามวงศ์วานไปสิ้นสุดโครงการบริเวณถนนพระราม 9 รวมระยะทาง 17 กิโลเมตร มีด่านเก็บค่าผ่านทาง จำนวน 2 ตำแหน่ง ได้แก่ ด่านเก็บค่าผ่านทางบริเวณประชาชื่น และด่านเก็บค่าผ่านทางบริเวณมักกะสัน มีทางขึ้น-ลง จำนวน 3 ตำแหน่ง ได้แก่ ทางขึ้น-ลงจุดเริ่มต้นโครงการบริเวณทางแยกต่างระดับงามวงศ์วาน ทางขึ้น-ลงบริเวณย่านพหลโยธิน และทางขึ้น-ลงจุดสิ้นสุดโครงการบริเวณโรงพยาบาลพระราม 9 และตำแหน่งที่มีเฉพาะทางลง จำนวน 1 ตำแหน่ง ได้แก่ ทางลงบริเวณทางแยกต่างระดับมักกะสัน กทพ. มุ่งหวังให้โครงการนี้ ได้มีบทบาทในการแก้ไขปัญหาการจราจรบนโครงข่ายทางพิเศษอย่างมีประสิทธิภาพ ลดระยะเวลาการเดินทาง และเพิ่มคุณค่าให้กับคุณภาพชีวิต ดังวิสัยทัศน์ของ กทพ. ที่ว่า องค์กรนวัตกรรมเพื่อการเดินทางและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น Innovation for Better Drive and Better Life ——————————————————————–

กทพ. จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 โครงการทางพิเศษยกระดับชั้นที่ 2 (งามวงศ์วาน-พระราม 9) ภายใต้งานศึกษาความเหมาะสมทางด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการแก้ไขปัญหาการจราจรบนโครงข่ายทางพิเศษ ระยะที่ 1 การทางพิเศษแห่งประเทศไทย...

กทพ. เผยความคืบหน้าการสอบสวน กรณีเกิดอุบัติเหตุคานคอนกรีตถล่ม ขณะติดตั้งบนถนนพระราม 2

กทพ. เผยความคืบหน้าการสอบสวน กรณีเกิดอุบัติเหตุคานคอนกรีตถล่ม ขณะติดตั้งบนถนนพระราม 2 การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กระทรวงคมนาคม เผยความคืบหน้าการสอบสวน กรณีเกิดอุบัติเหตุ ชิ้นงาน Precast Segment หล่นขณะติดตั้งบนถนนพระราม 2 จากเหตุการณ์ชิ้นงาน Precast Segment ของ...

17 พฤษภาคม 2566 กทพ. ยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษ 3 สายทาง

17 พฤษภาคม 2566 กทพ. ยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษ 3 สายทาง ​ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กระทรวงคมนาคม ยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษของทางพิเศษ รวม 3 สายทาง ดังนี้ ทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ทางด่วนขั้นที่ 1) จำนวน 19 ด่าน ทางพิเศษศรีรัช (ทางด่วนขั้นที่ 2) จำนวน 31 ด่าน...

กทพ. ขอชี้แจงข้อเท็จจริง การเกิด segment หล่นบนถนนพระรามที่ 2

กทพ. ขอชี้แจงข้อเท็จจริง การเกิด segment หล่นบนถนนพระรามที่ 2 การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กระทรวงคมนาคม ขอชี้แจงข้อเท็จจริงว่า เหตุเกิด segment หล่นในพื้นที่ก่อสร้าง บนถนนพระรามที่ 2 นั้นเป็นโครงการทางพิเศษสายพระราม 3 – ดาวคะนอง –...

กทพ.ชี้แจงกรณีแท่งปูนตกใส่รถ

กทพ.ชี้แจงกรณีแท่งปูนตกใส่รถ ตามที่สื่อสังคมออนไลน์ ได้เผยแพร่ข้อความจาก Facebook ของสมาชิกเฟซบุ๊ก “Kanokpol S. Phomahad” โพสต์เดือด หลังก้อนปูนทางด่วนตกใส่รถยนต์ จนได้รับความเสียหาย แต่กลับถูกปฏิเสธค่าเยียวยาทุกอย่าง ยกเว้นค่าซ่อมรถนั้น กทพ....