พม. โดยกรมกิจการเด็กและเยาวชนกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยกรมกิจการเด็กและเยาวชน จัดโครงการอบรมพัฒนาเยาวชนสู่การเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม : New Gen Start – up เพื่อสังคม โดยบูรณาการร่วมกับภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ได้แก่ มูลนิธิพุทธภูมิธรรม สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม (สวส.) บริษัท LAZADA สมาคมเรือเยาวชนเอเชียอาคเนย์แห่งประเทศไทย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ความคิด ความเชื่อมั่นในธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) และคุณค่าในตัวเอง สร้างความตระหนักรู้ ความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม จัดทำช่องทางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Platform) กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย เด็กและเยาวชน อายุระหว่าง 16 – 25 ปี (ที่กำลังศึกษาระดับอาชีวศึกษาและระดับปริญญาตรี) ซึ่งจะดำเนินการจัดอบรมทั้ง 4 ภาค (ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคใต้) รวมจำนวนทั้งสิ้น 550 คน ดังนี้ ภาคกลาง วันที่ 21 – 23 มิถุนายน 2567 กรุงเทพมหานคร, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วันที่ 5 – 7 กรกฎาคม 2567 จังหวัดอุบลราชธานี, ภาคเหนือ วันที่ 2 – 4 สิงหาคม 2567 จังหวัดเชียงใหม่, ภาคใต้ วันที่ 16 – 18 สิงหาคม 2567 จังหวัดสงขลา
โดยเริ่มจัดโครงการ ฯ ภาคกลาง กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 21 – 23 มิถุนายน 2567 ณ ห้องประชุมแกรนด์บอลรูม ชั้น 2 โรงแรมบางกอกพาเลซ กรุงเทพมหานคร กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย เด็กและเยาวชน ระดับอุดมศึกษา ระดับอาชีวศึกษา และเครือข่าย ได้แก่ ชมรมเด็กและเยาวชนดีเด่นแห่งชาติและผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเด็กและเยาวชน สภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย และเครือข่ายเยาวชน SEED THAILAND ซึ่งในวันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน 2567 เวลา 09.30 น.
นางอภิญญา ชมภูมาศ อธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชน เป็นประธานฯ กล่าวให้กำลังใจพร้อมทั้งมอบเกียรติบัตรให้แก่ผู้เข้าร่วมอบรม โดยมีผู้บริหารกระทรวง พม. ผู้บริหารกรมกิจการเด็กและเยาวชนร่วมเป็นเกียรติภายในงาน สำหรับวิทยากรในการอบรมครั้งนี้ ประกอบด้วย 1. รองศาสตราจารย์ ดร.วสันต์ สกุลกิจกาญจน์ อาจารย์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2. นายธนาวุฒิ ศุภางคะรัตน์ นักวิชาการวิสาหกิจเพื่อสังคมชำนาญการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม 3. บริษัท ลาซาด้า จำกัด 4. นายภคิน ศานตนันทน์ และคณะสมาคมเรือเยาวชนเอเชียอาคเนย์แห่งประเทศไทย
โครงการ ฯ มีกิจกรรมที่น่าสนใจ ดังนี้
– การบรรยายให้ความรู้ พื้นฐานเกี่ยวกับธุรกิจเพื่อสังคม และพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม, หัวข้อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ Mindset การเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม, ทักษะเกี่ยวกับการทำธุรกิจแบบ Mission driven การขับเคลื่อนด้วยพันธกิจในการสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกและการเริ่มการเป็นผู้ประกอบการ ได้แก่ การเรียนรู้ธุรกิจและการสร้างแบรนด์ /design thinking /marketing
– กิจกรรมเรียนรู้ “ธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise)” ผ่านการเรียนรู้ 2 หัวข้อหลัก ประกอบด้วย กิจกรรมเรียนรู้ Business Model (ในบริบทของการทำธุรกิจเพื่อสังคม) และ Global Trends (แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของโลกในมิติต่างๆ ด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี) และการแลกเปลี่ยนจุดเริ่มต้นเล็กๆ ในการขับเคลื่อนพื้นที่และสังคมด้วย Passion ตนเอง , (วิธีแปลงความสนใจของตนเองมาเป็นธุรกิจหรือสร้างอิมแพคให้กับสังคม)
– การบรรยายและการฝึกปฏิบัติ หัวข้อ “E-commerce ที่ทุกคนต้องรู้” / เครื่องมือทางการตลาดพื้นฐาน / เทคนิคการเล่าเรื่องสินค้าเพื่อการตลาด โดย วิทยากรบริษัท ลาซาด้า โซลูชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด
รวมทั้งมีกิจกรรม“สร้างแรงบันดาลใจในการขับเคลื่อนสังคมด้วย SE” และแบ่งกลุ่มอภิปรายคิดโครงการหรือธุรกิจเพื่อสังคม 3 ประเด็น ได้แก่ 1. กลุ่มที่สนใจธุรกิจด้านพัฒนาสังคม 2. กลุ่มที่สนใจธุรกิจด้านสิ่งแวดล้อม 3. กลุ่มที่สนใจธุรกิจเชิงพาณิชย์ เพื่อแบ่งกลุ่มวางแผนทำ Project สร้างเครือข่ายระหว่างเยาวชน
การจัดโครงการ ฯ ในครั้งนี้ กรมกิจการเด็กและเยาวชน มีความมุ่งมั่นที่จะรวมพลังกับภาคีเครือข่ายเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม โดยการพัฒนาเยาวชนไทยให้เป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม และสร้างความมั่นคงของครอบครัวไทยให้ผ่านพ้นภัยวิกฤตประชากร มุ่งเน้นการเสริมพลังวัยทำงาน เพิ่มคุณภาพเด็ก และเยาวชน เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอดในอนาคตอันใกล้นี้ ให้ตระหนักถึงการทำความดี จิตอาสา การตอบแทนและช่วยเหลือสังคมที่ตนเองอยู่